Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ITEL ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
MAI
AMA เคาะจ่ายปันผลปี 67 อัตรา 0.25 บ./หุ้น
IPO
BKA เทรด mai 22 เม.ย.นี้ ประกาศ Lock up หุ้น 87%
บล./บลจ
“KuCoin Thailand” เปิดตัวเป็นทางการ หลัง ERX รีแบรนด์
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
DIPROM ดัน Soft Power ไทย! ลุยสร้าง ‘Fashion Hero Brand’
พลังงาน - อุตสาหกรรม
STA หนุนรัฐผลักดันมาตรการต้านยางเถื่อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
“สุริยะ” เปิดใช้ทางเลี่ยงเมืองปราจีนบุรี
แบงก์ - นอนแบงก์
BBL จับมือ กลุ่มเดอะมอลล์ ต่อยอดบัตร ‘Bangkok Bank M Visa’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
MTC ปันผล 0.25 บ./หุ้น เป้าปี 68 ตั้งพอร์ตสินเชื่อโต 10-15%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
TQR อนุมัติจ่ายปันผลปี 67 อีก 0.216 บ./หุ้น
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
PREB ปี 68 ผลงานสดใส ตุน Backlog หนา 9.2 พันล.
การตลาด
TOA โชว์นวัตกรรมซ่อมแซม “รอยแตกร้าว” งานสถาปนิก’68
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
“กรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์” มอบรางวัล Insurance Exellence Awards
Gossip
IND หุ้นดีน่าสะสม ก่อนขึ้น XD 2 พ.ค.นี้
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
คปภ.ถกภาคธุรกิจประกัน ยกระดับมาตรการกำกับดูแล
2025-04-24 16:45:57
84
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - คปภ. ประชุมร่วมภาคธุรกิจประกันภัย หารือเตรียมพร้อม เพื่อยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกัน รองรับการใช้บังคับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 นายโสรัจจ์ แรกสกุลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย เพื่อให้สามารถปรับตัวได้เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที จึงมอบหมายให้สายตรวจสอบ ร่วมกับสายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและพัฒนาแนวทางยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกันบริษัทประกันภัยที่มีการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะทางการเงิน
โดยพบว่า บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะการเงินจะแก้ไขปัญหาด้วยการจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็นหลัก อันเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น และไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางการเงินได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ผ่านมามาตรการแทรกแซงตามกฎหมายสำหรับใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหายังเผชิญกับข้อจำกัด ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยมีฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือมีการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
ด้วยเหตุดังกล่าว สำนักงาน คปภ. จึงได้พัฒนาจัดทำมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย เพื่ออุดช่องว่างในกระบวนการ ให้บริษัทประกันภัยต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลาย จนอาจกระทบต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน จึงได้มีการประชุมร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย โดยมีผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยเข้าร่วม เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และเตรียมความพร้อมรองรับสำหรับการบังคับใช้เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติกับบริษัทประกันภัยต่อไป
สำหรับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย นำมาใช้กับบริษัทประกันภัยที่จัดอยู่ในกลุ่ม 2 กลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 ตามการจัดกลุ่มของระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS) ซึ่งมีปัจจัยหรือข้อบ่งชี้ในบางประการที่อาจนำไปสู่ผลกระทบต่อฐานะ ทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย และจะนำมาใช้เพื่อป้องกันก่อนที่เงินกองทุนของบริษัทประกันภัยดังกล่าวจะลดต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย/ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งในแต่ละมาตรการแทรกแซงจะมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ (Root Cause) ที่แท้จริง เป็นไปตามสัดส่วนความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละบริษัทประกันภัย
รวมถึงมีขั้นตอนการตัดสินใจ (Decision-Making Lines) ที่ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยมีข้อบ่งชี้ที่ใช้พิจารณาแบ่งกลุ่มบริษัทที่เข้ามาตรการแทรกแซงที่สามารถสะท้อนฐานะการเงิน ความมั่นคงของบริษัทในปัจจุบัน และความทนทานของเงินกองทุนส่วนเกิน (Surplus) ที่มีต่อผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งแบ่งความทนทานของบริษัทออกเป็น 3 ระดับที่มีความสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ โดยจะเริ่มจากระดับเบาไปหาหนัก และหากบริษัทยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาตามมาตรการแทรกแซงได้ ก็จะถูกยกระดับการบังคับใช้มาตรการแทรกแซงที่สูงขึ้นในลำดับต่อไป
สำหรับผลการประชุมร่วมดังกล่าว ผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย เห็นด้วยกับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้บริษัทประกันภัยได้ทราบหลักเกณฑ์และระยะเวลาของมาตรการแทรกแซง ที่ชัดเจนสามารถดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายจนอาจนำไปสู่ผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน และมีความเห็นเพิ่มเติมในบางประเด็น อาทิ ในมุมของการมองผลขาดทุนของบริษัทประกันชีวิตที่อาจต้องมีการแยกพิจารณาผลขาดทุนในมุมผลขาดทุนที่แตกต่างจากบริษัทประกันวินาศภัย เป็นต้น ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะรับข้อคิดเห็นดังกล่าวนำไปพิจารณา เพื่อให้มาตรการที่ออกมาสามารถนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนบังคับใช้ในลำดับต่อไป
ITEL ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
SO เคาะจ่ายปันผล 0.18 บ./หุ้น
CHAYO ลุยแผนซื้อหนี้หมื่นล. โบรกชี้เป้า 3 บ.
MENA มั่นใจรายได้ปี 68 โตกว่า 10%
SNNP เจาะตลาดคนรุ่นใหม่ รุกขยายฐานอัพโต
SPREME ลุยประมูล Mega Project-ปิดดีล M&A