Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
MAI
DOD ส่งซิก ปั้นรายได้รวมปี 68 แตะ 800 ล้านบ. ลุ้นจ่ายปันผล
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมโต 9 เท่า
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
“อรสิริน” ได้ฤกษ์มงคล ลงเสาเอก “อะไรซ์ ไวบ์ ภูเก็ต”
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
วิริยะประกันภัย สนับสนุนน้ำดื่มบริการประชาชนแก่ กทพ.
Gossip
TPS เชิญประชุม ผถห. รูปแบบออนไลน์
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
"กองทุนรวม Thai ESGX" โอกาสลงทุนใหม่ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ttb analytics ส่องธุรกิจค้าปลีกเริ่มฟื้นตัว
2021-09-22 18:02:27
749
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ttb analytics ส่องธุรกิจค้าปลีกเริ่มฟื้นตัวหลังคลายล็อกดาวน์ พร้อมรับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย มองเทรนด์ช้อปสินค้าออนไลน์เติบโตสูง คาดหลายธุรกิจเริ่มฟื้นตั้งแต่ไตรมาส 4/64 ถึงกลางปี 65
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 ttb analytics ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกเดือนเม.ย.64 ที่มีความรุนแรงมากกว่าระลอกแรกในปี 63 ได้ส่งผลกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกด้านให้สะดุดลงอีกครั้ง และส่งผลกระทบไปยังหลายภาคธุรกิจที่เพิ่งฟื้นตัว ซึ่งรวมถึงธุรกิจค้าปลีกที่มีมูลค่าเฉลี่ยต่อปีกว่า 5 ล้านล้านบาท สะท้อนจากดัชนีการเคลื่อนที่ Google Mobility และดัชนีค้าปลีกในภาพรวมได้ชะลอลงและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในไตรมาส 3/64 ซึ่งเป็นผลของสถานการณ์การระบาดยังมีความน่ากังวล นำไปสู่การใช้มาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ
อย่างไรก็ตาม จากการที่อัตราการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ นำไปสู่การเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ใน 29 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.64 ซึ่งคาดว่าจะลดแรงกดดันต่อธุรกิจค้าปลีก และเริ่มทยอยฟื้นตัวได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ส่งผลดีต่อแนวโน้มการฟื้นตัวประกอบด้วย
1) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ คนละครึ่งเฟส 3 ยิ่งใช้ยิ่งได้ เราเที่ยวด้วยกัน-ทัวร์เที่ยวไทย, 2) กำลังซื้อที่มีแรงหนุนจากการส่งออกที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและรายได้ภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี, 3) กระแสความนิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ และ 4) การฉีดวัคซีนที่คาดว่าจะครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ 70% ภายในปี 64 ซึ่งสร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิตให้กลับมาเป็นปกติ ขณะที่ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงที่อาจฉุดการฟื้นตัว ได้แก่ โอกาสเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ที่ทำให้ต้องชะลอการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ออกไป และหนี้ครัวเรือนที่ไต่ระดับสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย และภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ จากการประเมินของ ttb analytics โดยใช้ข้อมูลองค์ประกอบย่อยของดัชนีค้าปลีก อาทิ ร้านขายปลีกสินค้าไม่คงทน (ได้แก่ ขายอาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น) ร้านขายปลีกสินค้าคงทน (ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น) และการขายสินค้าออนไลน์ มองทิศทางการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาส 3/64 ถึงไตรมาส 1/65 โดยแบ่งตามระดับการฟื้นตัวออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มใช้เวลาฟื้น 1-3 เดือน ได้แก่ ธุรกิจการขายปลีกสินค้าออนไลน์ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากคาดการณ์ดัชนีค้าปลีกในไตรมาส 4/64 โตขึ้นเกือบ 3 เท่า อยู่ที่ระดับ 288 เมื่อเทียบกับปีฐาน 62 ที่อยู่ที่ 100 ร้านขายปลีกทีวีและเครื่องเสียง ร้านขายปลีกเครื่องสำอาง เภสัชกรรมและเวชภัณฑ์ การขายปลีกสินค้าอื่น ๆ บนแผงลอยและตลาด การขายหรือซ่อมจักรยานยนต์ ร้านขายปลีกสินค้ามือสอง ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน และผู้ขายเป็นผู้ค้ารายย่อยเป็นจำนวนมาก
2.กลุ่มใช้เวลาฟื้น 3-6 เดือน ได้แก่ การขายรถยนต์/อุปกรณ์ และการซ่อมบำรุงรถยนต์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากคาดการณ์ดัชนีค้าปลีกในไตรมาส 1/65 อยู่ที่ระดับ 97 เมื่อเทียบกับปีฐาน 62 ที่อยู่ที่ 100 ร้านขายปลีกอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านขายปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ร้านขายปลีกเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนัง มีปัจจัยหนุนด้วยการกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
3.กลุ่มใช้เวลาฟื้นมากกว่า 6 เดือน ได้แก่ ร้านขายปลีกสินค้าของที่ระลึกและวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากคาดการณ์ดัชนีค้าปลีกในไตรมาส 1/65 อยู่ที่ระดับ 45 เมื่อเทียบกับปีฐาน 62 ที่อยู่ที่ 100 ธุรกิจปั๊มน้ำมัน ซึ่งได้ปัจจัยหนุนจากการทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวแซนด์บ๊อกซ์ของจังหวัดต่าง ๆ และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น ส่วนร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้างจะมีการฟื้นตัวตามการปรับที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจ
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.
ASIA ปักธงรายได้ปี 68 โต 10% - SGC ลุย “Lock Phone” เป้าสินเชื่อ 8 พันล.
ASIA ผถห.ไฟเขียวปันผล 0.13 บ. ปักธงรายได้ปีนี้โต10%
SGC ชูธุรกิจ Locked Phone ทะยานโต