Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
MAI
KJL เขย่าตลาดไฟฟ้า! เปิดตัว “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์”
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
SCB EIC ส่องอุตฯน้ำมันปาล์มสดใส ราคาน้ำมันปาล์มดิบพุ่ง 6.6%
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
BAY อวดกำไรไตรมาสแรกโต 20% หวั่นศก.ไทยปัญหาเพียบ
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
SAM ฉลอง 25 ปี คิกออฟมาตรการพิเศษช่วยลูกค้าทุกกลุ่ม
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
บสย. หารือสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ปลุกยอดค้ำประกัน “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
Gossip
บ้านปู ชวนร่วมงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล”
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
CIMBT โชว์กำไรสุทธิ Q1/68 โต 33.9% แตะระดับ 838 ล.
2025-04-18 17:48:25
60
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – CIMBT ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/68 มีกำไรสุทธิ 838 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รับแรงส่งจากการเติบโตของรายได้ รวมทั้งสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามแผน
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 นายพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารงวดไตรมาส 1/2568 มีกำไรสุทธิจำนวน 838.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 2.2% และการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 22.1% ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น 58.2%
ขณะที่รายได้จากการดำเนินงานในไตรมาส 1/2568 อยู่ที่ 3,583.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 134.3 ล้านบาท หรือ 15.1% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนและกำไรสุทธิจากการขายเงินลงทุนสุทธิกับการลดลงของกำไรสุทธิจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 62.0 ล้านบาท หรือ 20.7% เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและบริการ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจำนวน 118.6 ล้านบาท หรือ 5.1% เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 485.3 ล้านบาท หรือ 22.1% เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานในไตรมาส 1/2568 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2568 อยู่ที่ 47.6% ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับ 62.5% อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM) อยู่ที่ระดับ 2.0% ลดลงจากงวดเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับ 2.2% เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มี.ค. 2568 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชีของกลุ่มธนาคาร (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) อยู่ที่ 2.46 แสนล้านบาท ลดลง 2.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 3.1 แสนล้านบาท ลดลง 4.2% จากสิ้นปี 2567 ซึ่งมีจำนวน 3.24 แสนล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 79.3% จาก 77.6% ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2567
สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ 2.8% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2567 ที่อยู่ระดับ 2.6% เป็นผลจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในปี 2567 อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมขึ้น ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ การดำเนินการดูแลและการแก้ไขลูกหนี้ที่ถูกผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 มี.ค. 2568 อยู่ที่ 134.3% ลดลงจากสิ้นปี 2567 ซึ่งอยู่ที่ 137.9% ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 9.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านบาท เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคารมีจำนวน 5.97 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยง 21.4% โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ระดับ 16.7%
“ปี 68 เราระมัดระวังในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกและภูมิรัฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของตลาด ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ เป้าหมายของธนาคาร คือการผลักดันผลการดำเนินงานหลักและความสามารถในการทำกำไร พร้อมมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในระยะยาว ภายใต้แผนกลยุทธ์ใหม่ของกลุ่มซีไอเอ็มบี นั่นคือ 'Forward30' – Advancing Customer And Society เรามุ่งมั่นในการขับเคลื่อนลูกค้าและสังคมไปข้างหน้า ด้วยแนวทางการทำงานที่ “เรียบง่าย รวดเร็ว และดียิ่งขึ้น” พอล วอง กล่าว
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
TTB แหกโค้ง กำไร Q1/68 หดตัว 5.2%
CH วางแผนรับมือกำแพงภาษี "ทรัมป์"
BBL กำไรโค้งแรกโตสลุต 20% - SAFE พื้นฐานดี! ต้องมีติดพอร์ต
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน