Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TIDLOR โชว์ผลงานปี 67 กำไรพุ่งทำนิวไฮแตะ 4.2 พันลบ.
MAI
MOTHER เทรดวันแรกพุ่ง 54.29% ปักธงรายได้ 10 %
IPO
MOTHER พร้อมลั่นระฆังเทรด mai 11 ก.พ.นี้
บล./บลจ
FETCO ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนหน้า อยู่ที่ 91.78
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC หวังศก.ครึ่งปีแรกมีแรงส่งจากมาตรการรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เซ็นทรัลแล็บไทย” ส่งเสริม SMEs เข้าถึงสินเชื่อ
พลังงาน - อุตสาหกรรม
‘บางจาก’ ปลื้ม! หุ้นกู้ดิจิทัล ยอดจองเต็ม 3 พันลบ.
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" สั่งเตรียมแผนรับนักท่องเที่ยวช่วงฤดูร้อน
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน ท็อปฟอร์ม! คว้า 7 รางวัล รสก.ปี67 “ระดับดีเด่น”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SAWAD ปลื้ม! ฟิทช์จัดอันดับเครดิตที่ระดับ 'A-(tha)'
SMEs - Startup
Coral ชวนล่างานศิลปะฝาท่อตลอดเส้นเยาวราช
ประกันภัย - ประกันชีวิต
พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มอบรางวัล “Prudential Hospital Award 2024”
รถยนต์
ครั้งแรกที่ไทย นับถอยหลัง Countdown “โมโตจีพี”
ท่องเที่ยว
ทีเส็บ เผย 5 ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนไมซ์ไทยปี 68
อสังหาริมทรัพย์
“ศุภาลัย ให้ยกช่อ” กระตุ้นตลาดบ้านโซนรังสิต
การตลาด
CH ส่ง ‘Bangkok Tasty’ คว้ารางวัล ‘Superior Taste Award 2025’
CSR
Coral ชวนล่างานศิลปะฝาท่อตลอดเส้นเยาวราช
Information
TTB จัดงาน “ทีทีบี อัศจรรย์ เฟสติวัล” มอบโปรโมชันครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์
Gossip
ASIA ดึง SPA เสิร์ฟบริการระดับพรีเมียม
Entertainment
อลิอันซ์ ชี้ระบบบำนาญทั่วโลกต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO รุกซื้อหนี้เติมพอร์ต อัพผลงานโตเกิน 20%
SCB EIC หวังศก.ครึ่งปีแรกมีแรงส่งจากมาตรการรัฐ
2025-02-03 19:30:53
240
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกยังมีแรงส่งและปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ครึ่งปีหลังจะถูกกดดันจากผลกระทบของนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ที่จะทยอยออกมา
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า พัฒนาการเศรษฐกิจโลกไตรมาส 4/2567 ได้รับผลบวกจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงและการเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาด โดย SCB EIC ยังคงมุมมองว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2568 จะเติบโตชะลอลงจากปีก่อนอันเป็นผลจากนโยบาย Trump 2.0 สำหรับภาพรวมการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ ตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์เริ่มเข้ารับตำแหน่งยังสอดคล้องกับที่ SCB EIC ประเมินไว้ โดยประธานาธิบดีทรัมป์เริ่มออกคำสั่งบริหารจำนวนมากเพื่อยกเลิกแนวนโยบายของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและเร่งแก้ปัญหาในประเทศทันที โดยเฉพาะการจัดการผู้อพยพผิดกฎหมาย และการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงาน แต่ยังไม่มีคำสั่งขึ้นภาษีนำเข้าที่ชัดเจนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับประเทศคู่ค้า
เงินเฟ้อในประเทศเศรษฐกิจหลักจะทรงตัวสูงกว่าเป้าในช่วงต้นปี 2568 นี้ จากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและค่าจ้างขยายตัวสูง โดยเฉพาะเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงเร่งขึ้นจากการกระตุ้นการลงทุนและขึ้นภาษีนำเข้าในชุดนโยบาย Trump 2.0 อย่างไรก็ดี แนวโน้มราคาน้ำมันโลกที่จะต่ำลงตามการเพิ่มกำลังการผลิตของสหรัฐฯ จะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อโลกลงได้บ้างในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะในยูโรโซนที่ยังเผชิญปัญหาด้านพลังงาน SCB EIC จึงยังคงมุมมองนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักในปีนี้ว่า จะเห็นความแตกต่างกันมากขึ้น (Monetary policy divergence) และมีความไม่แน่นอนสูง โดย Fed มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมเพียง 0.50% ในปีนี้ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นทั้งแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศและนโยบาย Trump 2.0 แต่ ECB กลับมีแนวโน้มเร่งลดอัตราดอกเบี้ยรวม 1.25% ในปีนี้ จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าสหรัฐฯ มากและเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับใกล้เป้าหมายของธนาคารกลางมากกว่า ขณะที่ BOJ มีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยขึ้นรวม 0.50% ในปีนี้จากมุมมองเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและเงินเยนอ่อนค่า
SCB EIC ประเมินโมเมนตัมเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะดีต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2567 และยังพอมีปัจจัยบวก จากการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยช่วงที่ผ่านมายังสะท้อนว่าภาคการท่องเที่ยวและบริการเป็นแรงส่งสำคัญ เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งแม้จะมีกระแสข่าวด้านความปลอดภัยแต่การเดินทางมาไทยของนักท่องเที่ยวจีนในช่วงเทศกาลตรุษจีนยังเติบโตได้ดี สำหรับการออกคำสั่งบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ในช่วงนี้ประเมินว่าจะยังไม่ส่งผลลบต่อไทยมากนัก จึงคาดว่าการส่งออกไทยในช่วงต้นปีจะขยายตัวได้ดี โดยยังคงได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และหลายประเทศเร่งนำเข้าสินค้าไทย ก่อนมาตรการกีดกันการค้าจะมีทีท่ารุนแรงขึ้น ด้านการใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัวสูงตามการเบิกจ่ายงบประมาณที่ทำได้ต่อเนื่องจะเป็นอีกแรงส่งสำคัญ นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกจะยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ เช่น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 และเฟส 3 รวมทั้งมาตรการ Easy E-receipt ที่จะช่วยประคองการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวได้ในช่วงแรกของปีนี้
อย่างไรก็ดี SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวชะลอลง สาเหตุสำคัญมาจากผลของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่จะกระทบการค้าโลกรุนแรงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง กดดันการส่งออกไทย รวมถึงมีปัจจัยฐานสูง ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกในครึ่งปีหลังจะขยายตัวต่ำ อีกทั้ง ช่วงนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทยอยหมดไป ประกอบกับภาวะการเงินที่ยังมีแนวโน้มตึงตัว โดยเฉพาะการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้รายย่อยซึ่งยังคงมีความท้าทายอยู่ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มแผ่วลงในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับเงินเฟ้อในภาพรวมปี 2568 มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน ทั้งจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ราคาค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งมาตรการช่วยค่าครองชีพด้านพลังงานที่คาดว่าจะยังมีอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ SCB EIC ปรับมุมมอง กนง. จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง แต่จะเลื่อนออกไปเป็นช่วงกลางปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่ กนง. มีข้อมูลประเมินผลกระทบนโยบาย Trump 2.0 ต่อเศรษฐกิจไทยชัดขึ้น ซึ่งคาดว่า กนง. จะเห็นทิศทางเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตชะลอลงต่ำกว่าศักยภาพ นอกจากนี้ แนวการสื่อสารของ กนง. ในช่วงต้นเดือน ม.ค. ส่งสัญญาณโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นปีลดลง และยังเน้นย้ำว่า การลดดอกเบี้ยในภาวะความไม่แน่นอนสูงจะมีประสิทธิผลจำกัด อย่างไรก็ดี SCB EIC ประเมินว่าความเปราะบางของอุปสงค์ในประเทศ ภาวะการเงินตึงตัว และความเสี่ยงด้านลบของเศรษฐกิจไทยที่จะชัดเจนขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ กนง. จะสามารถพิจารณาลดดอกเบี้ยเพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงินลงได้อีก ควบคู่กับภาครัฐที่จะเตรียมความพร้อมเศรษฐกิจไทยให้สามารถเผชิญผลลบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
สำหรับเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาตามค่าเงินในภูมิภาคจากดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังประธานาธิบดีทรัมป์มีท่าทีผ่อนคลายต่อมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า และตลาดเกิดภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk-off) ทำให้เกิดการปรับฐานต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ที่มีมูลค่าสูงมากในช่วงก่อนหน้านี้ โดยในระยะสั้นมองเงินบาทอาจผันผวนสูงและกลับมาอ่อนค่าได้อยู่ที่ 34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้ากับประเทศในเอเชียตามที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า และ Fed อาจยังใช้แนวทาง Higher for longer ต่อ สำหรับช่วงครึ่งหลังของปีมองเงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าได้ หาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายช้าออกไปเป็นเริ่มช่วงกลางปี เนื่องจากมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ สูงไปมาก สำหรับมุมมอง ณ สิ้นปีนี้ ประเมินว่าเงินบาทอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อ่านต่อบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่...
https://www.scbeic.com/th/detail/product/eic-monthly-0125
TIDLOR โชว์ผลงานปี 67 กำไรพุ่งทำนิวไฮแตะ 4.2 พันลบ.
COCOCO เซ็น MOU ตั้งโรงงานในฟิลิปปินส์
TGE ลุยโรงไฟฟ้าขยะชุมชน - GFC เปิด 3 สาขาเต็มสูบ ปั้นรายได้โต 20%
GULF ปี 67 รับรู้ Core Profit จำนวน 18,400 ล. โต 18%
TGE เปิดแผนธุรกิจปีมะเส็ง ลุยโรงไฟฟ้าขยะชุมชน – คาร์บอนเครดิต
ตลท.เผยดัชนีหุ้นไทย ม.ค. 68 ปิดที่ 1,314.50 จุด