Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BKGI ปักหมุดปี 68 รายได้โต 20-25 %
MAI
FPI ปักหมุดรายได้ออลไทม์ไฮ ผถห.เคาะปันผล 0.08 บ.
IPO
ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง “นูทริชั่น โปรเฟส”
บล./บลจ
‘โกลเบล็ก’ คัด 5 หุ้นเด่นเข้าตา ‘Thai ESGX’
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลังแถลงความพร้อมจัดงาน 150 ปี กระทรวงการคลัง
การค้า - พาณิชย์
บสย. เปิดบูธให้คำปรึกษา SMEs ฟรี! จัดเต็มโปรโมชัน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
SSP เคาะจ่ายปันผล 0.20 บ./หุ้น จ่อ COD โซลาร์ฟาร์มญี่ปุ่น Q4
คมนาคม - โลจิสติกส์
DMT ลุยประมูลโครงการ-ลงทุนธุรกิจใหม่ หนุนรายได้พุ่ง 10%
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี เสริมเกราะเอสเอ็มอี เริ่มต้นลดคาร์บอน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
MTC ปันผล 0.25 บ./หุ้น เป้าปี 68 ตั้งพอร์ตสินเชื่อโต 10-15%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
อลิอันซ์ อยุธยา ชวนลูกค้าคนพิเศษร่วมกิจกรรม ‘Family Day 2025’
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
BAM เสริมทัพ ‘พรรณี – แมนพงศ์’ นั่งแท่นกรรมการ
การตลาด
SNNP เปิดตัว “หลิง-ออม” พรีเซ็นเตอร์ใหม่ “เจเล่ บิวตี้”
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
CIMBT ส่งบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ สปีดดี พลัส รับซัมเมอร์
Gossip
UREKA ชวนใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน รับ W3ฟรี!
Entertainment
SCBX จัดนิทรรศการ “ตามรอยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
ยูโอบี เสริมเกราะเอสเอ็มอี เริ่มต้นลดคาร์บอน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
2025-04-29 19:04:50
88
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ยูโอบี จัดงานสัมมนา ‘UOB Sustainability Compass Forum’ สนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีให้สามารถเริ่มต้นเส้นทางการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 นางพณิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institutions และ ESG Solutions ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อปีที่ผ่านมาธนาคารได้เปิดตัว UOB Sustainability Compass เครื่องมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ เอสเอ็มอี ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน มีธุรกิจที่ให้ความสนใจแล้วมากกว่า 1,600 ราย ปัจจุบัน สถานการณ์ด้านความยั่งยืนมีปัจจัยจากหลายด้าน ที่ผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องเตรียมรับมือ งาน UOB Sustainability Compass Forum ในครั้งนี้จึงเกิดขึ้น โดยธนาคารได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของความยั่งยืน เพื่อสร้างการตระหนักรู้ และตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทั้งนี้ พันธกิจหลักของธนาคารยูโอบี คือการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ธนาคารพยายามให้สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนผ่านกรอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Smart City Sustainable Financing Framework) เป็นการให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อาทิ การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ การก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน การปรับเปลี่ยนอาคารให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น การบริหารจัดการขยะ การบริหารจัดการน้ำ การให้สินเชื่อเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า
“ความยั่งยืนเป็นทั้งโอกาสและการบริหารความเสี่ยง ว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธนาคารยูโอบี ต้องการเป็นพันธมิตรกับทุกภาคส่วนในการเดินไปสู่ความยั่งยืนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น UOB Sustainability Compass ที่เป็นคู่มือเริ่มต้น หรือการเชื่อมลูกค้าเอสเอ็มอีกับผู้ให้บริการทั้งผู้ให้บริการโซลูชันต่างๆ รวมทั้งการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน นอกจากนั้น เรายังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าที่ได้เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนแล้ว ได้พบปะและแลกเปลี่ยนกับผู้ให้บริการโซลูชันต่างๆ และในครึ่งหลังของปีนี้ เราจะจัดโครงการนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เนื่องจากความยั่งยืนเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และธนาคารยูโอบี ก็พร้อมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนไปด้วยกัน” นางพณิตตรากล่าวทิ้งท้าย
ด้านดร. ธีรเดช ทังสุบุตร Partner บริษัท เดอะ ครีเอจี้ จำกัด และกรรมการบริหารเครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand หรือ CFNT) กล่าวว่า นอกเหนือจากความร่วมมือภาคสมัครใจแล้ว หลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีการร่างและออกกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เริ่มมีผลบังคับใช้และจะมีเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้เพื่อมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจ Net Zero ซึ่งกลไกเหล่านี้จะเป็นกติกาของเกมธุรกิจใหม่ บริษัทที่เข้าใจเกมใหม่นี้ก่อนก็จะสามารถเพิ่มโอกาสและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจและการค้าในบริบทการแข่งขันบนกติกาใหม่นี้
ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาผ่านกฎหมาย พรบ. ลดโลกร้อน รวมถึงกลไกต่างๆ ที่จะอยู่ภายใต้ พรบ. ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ และยังมีความพยายามจากหลายหน่วยงานร่วมกันจัดทำมาตรฐาน Thailand Taxonomy ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่ทุกหน่วยงานสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้โดยสมัครใจเพื่อส่งเสริมและช่วยขับเคลื่อนการลงทุนที่ยั่งยืน
สำหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ (IFRS S1 และ S2) รวมถึงแนวปฏิบัติการรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างก็ได้กำหนดให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 โดย Scope 1 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (Direct Emissions) ที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กรหรือภายใต้การควบคุมขององค์กร Scope 2 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Indirect Emissions) Scope 3 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Other Indirect Emissions) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานทั้งจากต้นน้ำและปลายน้ำ นำมาซึ่งความสำคัญของการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อทำการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดความเสี่ยงจาก Climate Change
โดยมาตรฐาน IFRS S1 - S2 กำหนดให้มีการเปิดเผยบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1, 2, และ 3 อย่างไรก็ตาม ในมุมของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวทางให้บริษัทพยายามรวบรวมข้อมูล Scope 3 ให้ได้มากที่สุด โดยให้ระยะเวลา 5 ปี สำหรับการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว หลังจากนั้น ทุกบริษัทต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการทำรายงานความยั่งยืน (TCFD: Task Force on Climate-related Financial Disclosures) ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับ Scope 1 และ 2 เป็นหลัก และคาดว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้าจะมีการดำเนินมาตรการเกี่ยวกับ Scope 3 อย่างจริงจัง
ขณะที่นายชยาธร ฉันท์เรืองวณิชย์ หุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Decarbonization) มีความสำคัญ เพราะในบางอุตสาหกรรม เช่น ภาคการเงินและการลงทุน อาจมีสัดส่วนของการปล่อย Scope 3 สูงถึง 99.98% อันมาจากการปล่อย GHGs ของลูกค้าของธนาคาร ทำให้เอสเอ็มอี จะต้องเก็บข้อมูลและจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อตอบโจทย์คู่ค้าที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของบริษัทที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน IFRS S1 - S2 โดยหลักการทำ Supply Chain Decarbonization ทั้งในขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 มีความเหมือนกันคือเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นดูในส่วนของ baseline และพิจารณาว่ามีส่วนไหนบ้างที่สามารถปรับปรุงเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นแผนดำเนินการในการเริ่มลงมือจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างค่อยเป็นค่อยไป
นายภาณุ เภตรา รองกรรมการผู้จัดการบริษัทในเครือเภตรากรุ๊ป ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ ซึ่งดำเนินธุรกิจมามากกว่า 30 ปี กล่าวว่า “บริษัทวางหัวใจ 4 ข้อในการทำธุรกิจคือ บริษัท พนักงาน ลูกค้า และชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทเริ่มทำเรื่องความยั่งยืนมามากกว่า 10 ปี เริ่มจากการทำโชว์รูมรถยนต์ให้ได้มาตรฐานอาคารสีเขียว (Green Building) และทำหลังคาโซลาเซลล์ (Solar Rooftop) นำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ พร้อมแบตเตอรี่เก็บพลังงาน รวมถึงการดำเนินการเรื่องขยะอาหาร การรีไซเคิลชิ้นส่วนนำกลับมาใช้ใหม่ พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเพื่อลดการทำงานของพนักงานลง สำหรับแผนระยะยาวคือการพัฒนาพนักงานทุกคนในองค์กรเป็นแกนหลักในการคิดและพัฒนารูปแบบการทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ด้านนายโสฬส ยอดมงคล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท ยูนิคพลาสติก อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคือคนของทั้งองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับพนักงานต้องมีความเข้าใจ มีความรู้ และร่วมมือกัน บริษัทมีการตั้งคณะกรรมการด้านความยั่งยืน ที่ทำงานแบบ Cross Function ทุกหน่วยงานต้องมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหากไม่มุ่งหน้าสู่ความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูลทั้งจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรืออาจจะไปถึง Carbon Tax บริษัทควรพิจารณาและวางแผนว่าจะทำอย่างไร กับต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การพิจารณาใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนในกระบวนการทำงาน ทำให้ต้นทุนการทำงานรวมลดลง บริษัทต้องเตรียมอย่างรวดเร็ว
ขณะที่นายอาทิตย์ เวชกิจ ประธานคณะกรรมการ บริษัท นีโอ คลีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด กล่าวว่า พรบ. โลกร้อน จะออกภายในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ทุกธุรกิจจะต้องเข้าสู่ภาคบังคับเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในความต้องการของธุรกิจในการทำการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากธุรกิจไหนไม่มีแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Low Carbon Plan) อาจจะได้รับผลกระทบทางธุรกิจหากปรับตัวไม่ทันกับข้อกำหนดของคู่ค้าที่มีความต้องการด้านนี้ ซึ่งการลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะช่วยให้องค์กรสามารถลดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและได้ผลตอบแทนจากการลงทุน นอกจากนี้ BOI มีการสนับสนุนเรื่องการทำ Renewable Energy และ Efficiency Energy รวมถึงการลงทุนนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน บริษัทสามารถนำเงินลงทุน 50% ไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้
BKGI ปักหมุดปี 68 รายได้โต 20-25 %
WSOL รีแบรนด์อย่างเป็นทางการ เตรียมเปิดตัว New S-Curve
TEGH ลุย Spin-Off บริษัท TEBP เข้า mai ปีนี้
SM ไฟเขียวจ่ายปันผลปี 67 อัตรา 0.03 บ./หุ้น
PTG ปันผลเพิ่มอีก 0.25 บ./หุ้น ปักหมุดลุย Non-Oil เต็มสูบ - PLUS ลุยเครื่องดื่มสุขภาพ หนุนรายได้พุ่ง 80%
CIVIL ไฟเขียวแจกปันผล 0.02 บ./หุ้น แย้มปี 68 ธุรกิจสดใส